บริษัท เทรนเนอร์ อิน ไทย จำกัด :: 02 328 2110

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ.2562 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด

ทั้งนี้ หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามปประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564 มีดังนี้

  1. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต
  2. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน
  3. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ
  4. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  5. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  6. หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทางานในที่อับอากาศ

รายละเอียดหลักสูตร

กำหนดการอบรม หลักสูตร ผู้อนุญาต ( 7 ชั่วโมง)

08.00 ลงทะเบียนเข้าอบรม
08.00 – 08.30 ทดสอบก่อนการอบรม (Pre-test)
08.30 – 15.00 อบรมภาคทฤษฏี (ระยะเวลา 5 ชั่วโมง)
ก. กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ข. ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ค. การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน
และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ง. วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย (30 นาที)
จ. การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ
และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต (30 นาที)
ฉ. ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย (30 นาที)
ช. บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน
ในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน
ในที่อับอากาศ (30 นาที)
15.00 – 17.00 อบรมภาคปฏิบัติ (ระยะเวลา 2 ชั่วโมง)
ก. เทคนิคการตรวจสภาพพื้นที่และงาน ก่อนตัดสินใจอนุญาต (1 ชั่วโมง)
ข. เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
17.00 – 17.30 ทดสอบหลังการอบรม (Post-test)

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

(1) อายุ 18 ปีขึ้นไป
(2) มีใบรับรองแพทย์ว่าเข้าไปในที่อับอากาศได้
(3) มีวุฒิบัตร “การดับเพลิงขั้นต้น” ตามกฎหมาย

จำนวนผู้เข้าอบรม

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ไม่เกิน 30 คนต่อรุ่น

  • ภาคทฤษฎี วิทยากร 1 คน ต่อ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 30  คน
  • ภาคปฏิบัติ วิทยากร 1 คน ต่อ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 15  คน

การฝึกภาคปฏิบัติ

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องได้รับการฝึกภาคปฏิบัติในสถานที่จริง หรือ มีลักษณะเหมือนสถานที่จริง และได้รับการฝึกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมอย่างทั่วถึงทุกคน

วิทยากรฝึกอบรม

วิทยากรที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย และได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

ขอใบเสนอราคาจัดอบรมอับอากาศ (in-house)

ตารางอบรม Public Training

หลักสูตร ผู้อนุญาต (1 วัน)

เดือนวันที่อบรม
กุมภาพันธ์วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566
มีนาคมวันที่ 27 มีนาคม 2566
เมษายนวันที่ 24 เมษายน 2566
พฤษภาคมวันที่ 22 พฤษภาคม 2566
มิถุนายนวันที่ 26 มิถุนายน 2566
กรกฎาคมวันที่ 31 กรกฎาคม 2566
สิงหาคมวันที่ 21 สิงหาคม 2566
กันยายนวันที่ 18 กันยายน 2566
ตุลาคมวันที่ 30 ตุลาคม 2566
พฤศจิกายนวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566
ธันวาคมวันที่ 18 ธันวาคม 2566

ค่าลงทะเบียน

ค่าลงทะเบียน : 3,000 บาท/ท่าน
ราคาพิเศษ : 2,500 บาท/ท่าน
(กรณีสมัครพร้อมกัน 3 คนขึ้นไป ในหลักสูตรและรุ่นเดียวกัน)
ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

สถานที่ฝึกอบรม

ศูนย์ฝึกอบรมเทรนเนอร์ อิน ไทย

ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 30 (ใกล้สวนหลวง ร.9 ประเวศ กทม.)